วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

“รักความสามัคคี...รักความสงบ”

“รักความสามัคคี...รักความสงบ”
โดย W. Erfan
การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น สิ่งที่จะขาดเสียไม่ได้คือความสามัคคีและการเสียสละเพื่อส่วนรวมเป็นหลัก เมื่อใดที่สังคมขาดความสามัคคี ไร้การเสียสละเมื่อนั้นสังคมจะเต็มไปด้วยความขัดแย้งและความเห็นแก่ตัว เป็นสังคมที่ไม่มีความสงบสุข  สับสน วุ่นวาย ความสามัคคีเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการใช้ชีวิตร่วมกัน เพราะสาเหตุของความขัดแย้งมันเกิดขึ้นได้มากมาย จนบางครั้งเราไม่รู้กันด้วยซ้ำว่ามันเกิดขึ้นและมีต้นตอมาจากอะไร แต่นี่คือความจริง ความจริงที่คนหมู่มากย่อมหนีไม่พ้นความขัดแย้ง สำคัญที่สุดคือ เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว ต้องรู้จักการหาทางแก้ไขในสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อไม่ให้มันลุกลามจนในที่สุดกลายเป็นรากเหง้าของปัญหาที่ยากจะแก้ไข เป็นต้นว่า การรู้จักให้อภัยกัน ผ่อนหนักผ่อนเบา และประนีประนอมรอมชอมกัน ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ ล้วนเป็นคำสอนที่มีอยู่ในอิสลาม และเป็นคุณลักษณะของคนมุอฺมินผู้ศรัทธา ดังปรากฎชัดเจนในซูเราะฮฺอัล-อันฟาล อายะฮฺที่ 1
ความว่า “และจงปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างพวกท่าน และจงเชื่อฟังอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์เถิด หากพวกท่านเป็นผู้ศรัทธา”
แต่เป็นที่น่าเสียดายยิ่งที่นับวันคุณสมบัติดีๆ เหล่านี้ค่อยๆ เลือนหายไปจากสังคม ทุกวันนี้คนที่ให้อภัยกลับถูกมองว่าไม่ฉลาด หรือไม่รู้เท่าทันสังคม คนที่เมตตาอาจถูกมองว่าเป็นพวกชอบเสแสร้งโอ้อวด ส่วนคนประนีประนอมอาจถูกมองว่าเป็นจอมเจ้าเล่ห์เพทุบาย คบไม่ได้ จนในที่สุดสังคมที่ครั้งหนึ่งใครๆ พากันเรียกว่าสยามเมืองยิ้ม เป็นสังคมที่เต็มไปด้วยความสมัครสมานสามัคคีกำลังกลายเป็นอดีต และถูกแทนที่ด้วยความบึ้งตึง ฉุนเฉียว หวาดระแวงขัดแย้ง และดูเหมือนว่า ความขัดแย้งที่สำคัญที่สุดคือ ความขัดแย้งทางความคิดที่ปัจจุบันพัฒนามาจนถึงปลายขอบของเหวลึก และลุกลามกลายเป็นความแปลกแยก แข็งขืน ซึ่งต้องการได้รับการเยียวยาก่อนสายเกินไป สังคมไทยเดินมาถึงจุดที่เรียกว่าเป็น “อัตลักษณ์ทางความคิด” ต่างคนต่างคิดว่า ความคิดของตัวเองถูกหมด ปฏิเสธความคิดของคนอื่น ไม่รับ ไม่ฟังเหตุผล ไม่เห็นด้วยกับความคิดของคนอื่น บนสังคมแห่งความปฏิเสธและไม่ยอมรับซึ่งกันและกันนี่เองที่ทำให้สังคมขาดความสามัคคี คำถามที่น่าคิดเราจะกลับสู่ความผาสุกในอดีตได้อย่างไร คำตอบของเรื่องนี้ คือสิ่งที่มีอยู่แล้วในสังคม นั่นคือศาสนา ศาสนาเป็นฟางเส้นสุดท้ายของเรื่องนี้ แต่ปัญหาคือเรามองศาสนาในฐานะเป็นเพียงคำสอน ศาสนาเป็นแค่คำสอนที่เราเรียน เรารู้แต่เราไม่เคยปฏิบัติ และไม่เคยนำพาศาสนามาแก้ไขปัญหาการดำรงชีวิต และไม่เคยนำพาศาสนามาแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ในกรณีนี้คำสอนของศาสนาก็เปรียบเสมือนมีด ต่อให้คมแสนคมอย่างไร มันก็หาประโยชน์อะไรไม่ได้ ถ้าไม่มีใครหยิบมีดเล่มนั้นมาใช้ เราต้องไม่ลืมว่าอัลลอฮฺได้กล่าวเปรียบเทียบชาวยะฮูดีย์ว่าเป็นเหมือนลาที่แบกคำภีร์ที่มีคุณค่ามากมายอยู่บนหลัง แต่ลาเหล่านั้นไม่เคยรับรู้ถึงคุณค่าของคัมภีร์เหล่านั้น ดังโองการในซูเราะฮฺอัลญุมุอะฮฺ อายะฮฺที่ 5
ความว่า “อุปมาบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์เตารอต แล้วพวกเขามิได้ปฏิบัติตามที่พวกเขาได้รับมอบ อุปมัยก็เป็นประหนึ่งลาที่แบกหนังสือจำนวนหนึ่ง”
อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า ชาวยะฮุดีย์ทำตัวเหมือนลาที่แบกหนังสือ คือเนื้อหาหรือแก่นที่อยู่ในหนังสือหามีประโยชน์อันใดกับลาไม่ หรือมุสลิมกำลังจะทำตัวเหมือนยะฮุดีย์ ทั้งๆ ที่มีคำสอนมากมายในอัลกุรอาน ในอัลหะดิษ ทั้งหลักคุณธรรม หลักจริยธรรม แต่มุสลิมยังเพิกเฉยไม่นำพามาปฏิบัติ อาจกล่าวได้ว่าคำสอนเหล่านี้มีตั้งแต่เกิดยันตาย ตั้งแต่ตื่นนอนจนข่มตาหลับ
การประนีประนอมอาจเกิดขึ้นระหว่างมุสลิมกับคนต่างศาสนิก ระหว่างสามีกับภรรยา ระหว่างพี่กับน้อง ระหว่างเพื่อนบ้าน เพื่อนฝูง แต่นัยยะสำคัญคือการประนีประนอมต้องไม่ทำในเรื่องที่ผิดบัญญัติศาสนา ต้องไม่เปลี่ยนสิ่งหะรอมเป็นหะลาล หรือเปลี่ยนสิ่งหะลาลเป็นหะรอม แต่ทุกๆ คนรู้ว่าการประนีประนอมเป็นเรื่องดี และเป็นแนวทางที่ศาสนาใช้ กลับมีผู้คนจำนวนไม่มากที่ใช้แนวทางนี้ในการแก้ไขข้อขัดแย้ง เพราะต่างฝ่ายต่างยึดติดอยู่กับอารมณ์ของตัวเอง เนื่องจากอารมณ์มันใหญ่มันสั่งให้เราทำอะไรก็ได้  อารมณ์มันคอยกระซิบข้างหูคู่กรณีว่า เสียอะไรก็เสียไป แต่อย่าให้เสียหน้าก็แล้วกัน ในที่สุดแล้วต่างคนต่างก็ไว้ท่ารอที รอให้อีกฝ่ายหนึ่งเริ่ม นานวันเข้าเมื่อไม่มีใครเริ่ม โอกาสที่ผู้ขัดแย้งหรือคู่กรณีจะกลับมาคุยกัน เจรจากัน มาประนีประนอมกันยิ่งออกห่างกันขึ้นทุกที ดังกรณีที่มีชายผู้หนึ่งมายืนร้องไห้ ณ หลุมศพหลุมหนึ่งเป็นระยะเวลานาน จนมีผู้มาถามเขาถึงสาเหตุดังกล่าว ชายผู้นั้นตอบว่าหลุมศพนี้ คือ พี่ชายของเขาเอง ผู้ถามจึงบอกให้ชายผู้นั้นขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺให้แก่พี่ชาย เขาตอบว่า เมื่อตอนที่พี่ชายของฉันมีชัวิตอยู่ ฉันกลับตัดความสัมพันธ์กับเขาเป็นระยะเวลานานมากกว่าสิบปี ฉันไม่เคยไปเยี่ยม ไม่เคยให้สลามแม้ในวันอีด แต่ในวันนี้ วันที่พี่ชายจากไป ชายผู้นี้กลับต้องมานั่งหลั่งน้ำตาที่ข้างหลุมศพ แล้วมันจะมีประโยชน์อันใดเล่า
หากมองในสังคมเล็กๆ หรือชุมชนชนบทที่การดำรงชีวิตบนพื้นฐานของความเรียบง่ายตามประสาชาวบ้าน การใช้ชีวิตในทุกวันเสมือนเป็นครอบครัวใหญ่ที่ไม่ใช่แค่ภายในครอบครัวตนเองเท่านั้น หากแต่เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียงหรือแม้แต่ทั้งหมู่บ้านมีการใช้ชีวิตที่แตกต่างกับคนที่อาศัยอยู่ในเมืองอย่างมาก นั่นคือ การอยู่ร่วมกันฉันท์พี่น้อง ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ขอยกตัวอย่าง หมู่บ้านปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีประชากรที่เป็นมุสลิมและไทยพุทธในสัดส่วน 60 ต่อ 40 คือ มุสลิม 60% และไทยพุทธ 40% อยู่ร่วมกันมายาวนานพร้อมๆ กับการเกิดขึ้นของหมู่บ้านแห่งนี้ โดยถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเสมือนเป็นสมาชิกในครอบครัวใหญ่ครอบครัวหนึ่ง ความแตกต่างในเรื่องศาสนาหาใช่เป็นกำแพงกั้นความเป็นพี่น้องร่วมสังคมสำหรับหมู่บ้านนี้ไม่ ความแตกต่างกันทางความเชื่อ และความศรัทธา เป็นสิ่งที่ต่างคนต่างให้ความเคารพซึ่งกันและกันอย่างไม่รังเกียจ เหยียดหยาม ดูถูก ดูหมิ่น ระหว่างกัน ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงแล้วเราผู้นับถืออิสลามมีหน้าที่ต้องแสดงความเป็นอิสลามในทุกมิติชีวิต เพื่อให้ชนต่างศาสนิกได้รู้และเข้าใจถึงศาสนาอิสลาม ตามความศรัทธาของมุสลิมแล้วศาสนา ณ พระองค์อัลลอฮฺนั้นมคือศานาอิสลาม กระนั้นก็ตามก็มีจำนวนไม่น้อยที่ยอมรับมานับถืออิสลาม เพราะความศรัทธาในความเป็นอิสลามที่ได้คลุกคลีอยู่กับมุสลิมในหมู่บ้านตลอดเวลา โดยที่บางคนยังคงมีญาติที่เป็นไทยพุทธอยู่และก็ไม่ได้ถือเป็นอุปสรรคในการอยู่ร่วมในสังคมเดียวกันไม่
ยังมีอีกหลายๆ หมู่บ้านเฉกเช่นเดียวกันกับหมู่บ้านดังที่ได้ยกตัวอย่างข้างต้น ซึ่งก็นับว่าเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมเพราะในท่ามกลางสานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างที่คุกรุ่นและเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานมนาน แต่ในอีกมุมเล็กๆ หรือบางพื้นที่ที่ทุกคนอาจไม่รู้ เพราะอาจไม่ได้ถูกนำเสนอผ่านสื่อในแง่มุมนี้ หรือถูกกลบเกลื่อนด้วยด้านลบที่เป็นภาพรวมมากกว่า ดังนั้น จากตัวอย่างเล็กๆ (ที่ผลของมันอาจดูยิ่งใหญ่มหาศาล) ตามที่ยกมาเป็นกรณีศึกษาข้างต้น จึงเป็นภาพสะท้อนถึงผลพวงของการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมโดยอาศัยหลักของความสามัคคีธรรมเป็นสำคัญ นำมาซึ่งความสงบสุขตามแบบฉบับที่อิสลามได้สอนไว้อย่างชัดเจน

   

“Pemimpin dan Pengikut di segi Kasihan-belas”

“Pemimpin dan Pengikut di segi Kasihan-belas”
Oleh W. Erfan
Diantara sifat-sifat yang di tuntuti oleh Islam kepada seseorang umatnya dalam kehidupan secara bermasyarakat ialah sifat kasihan-belas. Sifat kasihan-belas ini bukan hanya ditunti kepada seseorang muslim sesama muslim bahkan dengan orang yang berlainan agama juga. Kerana ini telah di tuntuti oleh agama semenjak dari awal kebangkitan Islam lagi. Khususnya kita berada di negeri yang bercampur dengan agama-agama yang bukan hanya agama Islam, maka wajib kita menjalankan sifat-sifat kasihan-belas ini terhadap mereka yang bukan beragama Islam demi menyebar dan menunjukan bahwa Islam bersifat dengan sifat kasihan-belas terhadap sesama manusia yang berlainan agama, negara, kelompak. Sepertimana kita hidup dalam sebuah negeri Thai terutama. Maka harus kita melambangkan bahwa sesungguhnya Islam adalah agama yang damai, contuhnya sifat kasihan-belas sebagai satu sifat yang di tuntuti oleh Islam terhadap sesama manusia.   
Allah s.w.t. berfirman di dalam surah al-Imran ayat 159:
Maksudnya: “Maka dengan sebab rahmat (yang melimpah-limpah) dari Allah s.w.t. (kepada mu wahai Muhammad) engkau telah bersikap lemah-lembut kepada mereka (sahabat-sahabat dan pengikut mu) dan kalau lah engkau bersikap kasar lagi keras hati, tentulah mereka lari dari keliling mu. Oleh itu maafkanlah mereka (mengenai kesalahan yang mereka lakukan terhadap mu) dan pohunkanlah ampun bagi mereka dan juga bermusyawaratlah dengan mereka dalam urusan (peperangan dan hal-hal keduniaan) itu, kemudian apabila engkau telah berazam (sesudah bermusyawarat untuk membuat sesuatu) maka bertakwalah kepada Allah, sesungguhnya Allah mengasihhi orang-orang yang bertakwa kepadanya”.
Kalimah rahmat bererti kasihan-belas, atau berazam supaya orang lain hidup di dalam kesenangan. Dengan rahmat inilah tujuan yang Allah mengutuskan Nabi Muhammad s.a.w. menyebarkan agama, sepertimana firmanNya dalam surah al-Ambiyaa’ ayat 107:
Maksudnya: “Dan tidaklah Kami utuskan engkau (wahai Muhammad) kecuali menjadi rahmat bagi sekelian alam”.
Nabi Muhammad s.a.w. sebagai contuh di setiap bidang hidup samada contuh di segi pemimpin atau pengikut, tak kira beliau di dalam mana keadaan beliau selalu menyebarkan sifat kasihan-belas, kasihan-belas bagi alam dunia, kasihan-belas kepada diri sendiri, menyebarkan rahmat kepada manusia seluruh tidak ketinggalan binatang. Nabi selalu sebarkan sifat kasihan-belas kepada semuanya. Begitu juga terhadap pokok kayu, kolam-kolam air dan seluruh perkara yang berada di dunia ini.
Al-Qur’an mengajarkan kita bahwa bersifat kasihan-belas di dalam hati seseorang, sekiranya seorang itu berada di mana-mana pekerjaan, di mana-mana peringkat, sesorang itu akan di hiasi dengan intan permata, sebaliknya mereka yang tidak ada sifat kasihan-belas, tak kira ia berada di pekerjaan mana atau peringkat mana, perkara itu akan di hancurkan oleh kekasaran dan sifat keras hati yang ada seseorang itu tadi.
Oleh itu kita mesti bersifat dengan sifat kasihan-belas yang di gariskan oleh Islam kepada semua peristiwa, jangan kita membalaskan dengan sifat kejahatan kepada mereka yang melakukan kejahatan, tetapi dengan sifat dan perasaan kasihan belas kepada mereka sehingga mereka meninggal perilaku yang tersebut.
Islam menggalak supaya umatnya pandai berfikir pandai membuat, pandai menukarkan masalah tetapi kesemuanya mesti di bawah garisan agama, tidak benar berfikir buat atau menukar satu-satu masalah sehingga melampaui batasan agama, seperti berfikir dan membuat atau menukar masalah tidak mengikut batasan tertentu, maka yang sedemikian akan timbul permasalah yang bertambahan lagi.
Pada menukaran masalah kita mesti menukarkannya dari punca masalah, seperti masalah keluarga, kita mesti memilih isteri yang salihah supaya menjadi ibu bagi anak kita di masa depan.
Setiap hari yang kita masih hidup mestilah kita memilih sebaik-baik perkara untuk kehidupan kita, mencakup masalah kedudukan sesuai dengan ajaran agama, maka cara manakah yang baik dan elok untuk kita, maka kita pilihlah yang sebaik-baik itu.
Kita mesti menjaga baik semua anggota kita, tentulah kita yang memerintahnya setiap mata, telinga, lidah dan semuanya, seterusnya, maka kita pilihlah perkara yang baik bagi perkara yang tersebut. Dengar, lihat dan bertutur hanya yang baik, begitu juga nafas yang kita sedang bernafas ini mestilah setiap nafas yang keluar itu tidak sia-sia, bahkan setiap kali bernafas, bernafas dengan berzikir kepada Allah s.w.t. kerana setiap kali kita bernafas akan di sual oleh Allah di hari pembalasan nanti. Oleh itu marilah kita berusaha supaya setiap kali yang nafas kita maka diikuti dengan ‘Lailaha Illallah’ dan begitu juga setiap kali nafas kita masuk maka diikuti oleh kalimah ‘Lailaha Illallah’ yakinlah bahwa sekira kita melatih diri kita dengan yang demikian, satu hari kita akan berjaya dengan tersendiri.
Orang yang menjadi pemimpin atau pengikut di mana saja mereka berada di situlah ada kesenangan dalam hidup, perkara ini kita tidak perlu bimbang atau berfikir untuk orang lain bahkan kita usaha diri kita dahulu supaya sifat kasihan itu berada di sanubari kita, sama-samalah kita menjaga diri kita sendiri, supaya dapat menyifati dengan sifat kasihan belas, nescaya masyarakat ini akan menjadi masyarakat yang berbahagia dan aman santosa.