วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

"การจัดการสินทรัพย์ในอิสลาม"(2)

"การจัดการสินทรัพย์ในอิสลาม"
   By Musa Bin Arifeen

          กฎหมายชารีอะห์กับการจัดการสินทรัพย์
          การจัดการสินทรัพย์ตามรูปแบบอิสลามก็ไม่แตกต่างจากอุตสาหกรรมทางการเงินรูปแบบอิสลามอื่น ๆ ที่ต้องมีกรอบของกฎหมายชารีอะห์ในการดำเนินงาน กองทุนอิสลามทั้งหลายจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการตามกรอบที่ชารีอะห์กำหนด เช่น ไม่สามารถไปลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย เช่น การซื้อขายพันธบัตรทั่วไปที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่จะได้จากการลงทุน เป็นต้น การจัดการสินทรัพย์รูปแบบอิสลามมีขอบเขตที่ต้องพิจารณาทำความเข้าใจหลายเรื่องด้วยกัน เช่น สัญญาและโครงสร้างสำหรับการจัดการสินทรัพย์ในอิสลาม พื้นที่ทางการตลาดสำหรับการจัดการสินทรัพย์ การดำเนินการเรื่องกองทุน กระบวนการต่าง ๆ ในการจัดการสินทรัพย์ รวมถึง คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายชารีอะห์ เหล่านี้ล้วนมีความสำคัญต่อความสำเร็จ และสัมฤทธิ์ผลในการบริหารหรือการจัดการสินทรัพย์ในอิสลาม

โครงสร้างสำหรับการจัดการสินทรัพย์
          อันที่จริงโครงสร้างสูงสุดของการจัดการสินทรัพย์คือการปฏิบัติตามหลักกฎหมายชารีอะห์ ซึ่งมีบอร์ดหรือคณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายชารีอะห์ (Sharia’a Supervisory Board / SBB) ในฐานะผู้บริหารระดับสูงของโครงสร้างการจัดการสินทรัพย์อิสลาม ซึ่งการปฏิบัติตามหลักกฎหมายชารีอะห์มีความคลอบคลุมตั้งแต่ที่มาของทุน หรือกองทุน ตลาด กระบวนการและวิธีการดำเนินงานกับกองทุน เช่น การลงทุน การจัดการความเสี่ยง ประเภทของการลงทุน ประเภทของสินค้า เป็นต้น ทั้งหมดเหล่านี้ต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายชารีอะห์ ดั้งนั้น บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายชารีอะห์จึงมีสูงมาก และต้องรับผิดชอบ (ตามกฎหมายชารีอะห์) แทบทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกฎหมายชารีอะห์กับการจัดการสินทรัพย์ เพราะอยู่ในฐานะผู้มีอำนาจสูงสุดในการพิจารณา อนุมัติ และตัดสินใจ ตามโครงสร้างที่กฎหมายชารีอะห์ได้กำหนดเอาไว้ แม้ว่าในความเป็นจริงบอร์ดของผู้บริหารจัดการ (Managing Board) จะทำหน้าที่การบริหารสินทรัพย์เกือบทั้งหมด แต่ก็ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายชารีอะห์เสียก่อน มิฉะนั้น การจัดการสินทรัพย์ดังกล่าวมิอาจถูกพิจารณาได้ว่าเป็นการจัดการสินทรัพย์ในรูปแบบอิสลามที่สอดคล้องกับหลักชารีอะห์

บทบาทหน้าที่สำคัญของคณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายชารีอะห์
1.       บทบาทในการให้คำปรึกษา
2.       บทบาทในการให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติให้ดำเนินการจัดการตามกระบวนการซึ่งมีแบบอย่างกระบวนการแนวทางการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ดังนี้คือ
1.       การสร้างตัวผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามความต้องการของตลาดหรือลูกค้า
2.       การเห็นชอบต่อผลิตภัณฑ์หรือแนวคิดโดยคณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายชารีอะห์
3.       การจัดทำเอกสารต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
4.       การพิจารณาระดับภายในฝ่ายกฎหมายชารีอะห์ เพื่อตรวจสอบว่าไม่มีเอกสารใด ๆ ที่จะท้าทายการไม่ปฏิบัติตามหลักกฎชารีอะห์
5.       การพิจารณาโดยคณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายชารีอะห์ เป็นขั้นตอนหลังจากได้มีการพิจารณาระดับภายในแล้ว(อนุกรรมการฝ่ายชารีอะห์)
6.       การอนุมัติขั้นสุดท้าย

3.       บทบาทในฐานะผู้ตรวจสอบ (Audit role) ซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญของคณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายชารีอะห์ ที่ให้ความสำคัญทั้งก่อนและหลังการจัดการสินทรัพย์รูปแบบอิสลาม นอกเหนือจากบทบาทดังกล่าวมาแล้ว บทบาทที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การผลักดันให้เกิดการรับผิดชอบต่อสังคม (Social responsibility) ซึ่งก็หมายความว่า คณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายชารีอะห์ต้องคิดคำนวณว่า ผลของการบริหารจัดการสินทรัพย์นั้น จะนำไปใช้เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งหนึ่งในความรับผิดชอบทางสังคมนั้นคือ ข้อบังคับให้มีการจ่าย ซะกาต เพราะอันที่จริงแล้ว ซะกาต เป็นเพียง ความรับผิดชอบทางสังคมขั้นต่ำสุดที่มุสลิมทุกคนต้องกระทำ (Minimal Social responsibility) เพราะยังมีความรับผิดชอบทางสัมคมอื่นๆ อีกมากมาย
เมื่อพิจารณาการจัดการสินทรัพย์อิสลามในภาพรวม จะพบว่าอิสลามมีรูปแบบที่ชัดเจนในการจัดการสินทรัพย์มีแนวทางและวิธีการ รวมถึงกระบวนการในการจัดการสินทรัพย์โดยใช้กรอบแห่งกฎหมายชารีอะห์ เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดีสำหรับผู้สนใจการจัดการสินทรัพย์รูปแบบอิสลามยังมีประเด็นรายละเอียดปลีกย่อยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ต้องทำความเข้าใจและศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

"การจัดการสินทรัพย์ในอิสลาม"!(1)

"การจัดการสินทรัพย์ในอิสลาม"
By Musa Bin Arifeen

การจัดการสินทรัพย์ในอิสลามหรือการจัดการตามหลักกฎหมายชารีอะห์ เจริญเติบโตมากพอ ๆ กันกับอุตสาหกรรมทางการเงินรูปแบบอื่นๆในอิสลาม ซึ่ง ณ ปัจจุบันมีกองทุนต่าง ๆ มากกว่า 700 กองทุน และมีเงินทุนในการบริหารจัดการไม่ต่ำกว่า เจ็ดหมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ ดังนั้นอุตสาหกรรมการจัดการสินทรัพย์รูปแบบอิสลาม ประเภทของกองทุน และกระบวนการในการดำเนินการธุรกรรมต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับมุสลิมและบุคคลทั่วไปที่สนใจจะศึกษาเพื่อร่วมลงทุนหรือสนับสนุนการลงทุนตามกรอบการจัดการสินทรัพย์ในศาสนาอิสลาม นอกจากนี้การจัดการสินทรัพย์ตามหลักชารีอะห์ยังเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าหลักชารีอะห์เป็นกฎหมายที่ครอบคลุมและให้การสนับสนุนและส่งเสริมธุรกรรมทางเศรษฐกิจได้ดีไม่แพ้ระบบเศรษฐกิจในระบบทุนนิยมทั่วไป ยิ่งไปกว่านั้น การจัดการสินทรัพย์ตามหลักชารีอะห์ยังสะท้อนให้เห็นความศรัทธาและความเชื่อมั่นต่อศาสนาอิสลามที่ให้แนวทางในการบริหารจัดการไว้อย่างครอบคลุมทั้งแนวคิด หลักการ จริยธรรม แนวทางในการประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์สุขของประชาชาติทั้งมวล ซึ่งมิใช่เฉพาะเจาะจงเพียงแค่ชาวมุสลิม แต่รวมถึงชาวต่างศาสนิกที่สนใจ และไม่จำกัดว่าผู้ลงทุนในรูปแบบอิสลามจะเป็นคนรวยหรือคนจน แต่สิ่งที่อิสลามนำเสนอคือกรอบแห่งความยุติธรรม โดยใช้หลักกฎหมายชารีอะห์เป็นเกณฑ์ที่สำคัญ
อย่างไรก็ดีการจัดการสินทรัพย์ในอิสลามมีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันออกไปจากการจัดการสินทรัพย์ในระบบทุนนิยมทั่วไป ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวสามารถแยกแยะได้ดังนี้คือ

คุณลักษณะเฉพาะที่สำคัญของการเงินตามหลักศาสนาอิสลาม (หลักชารีอะห์)

ประการแรก การจัดการสินทรัพย์ในอิสลามมีความเกี่ยวโยงกันอย่างแยกไม่ออกกับหลักจริยธรรมอิสลาม (Islamic Ethics) คือหลักความยุติธรรม (Principle of Justice) ซึ่งจะแตกต่างจากค่านิยมและคุณค่าทางธุรกิจในระบบเศรษฐกิจโดยทั่วไป (ธุรกิจในระบบทุนนิยม) เพราะคุณค่าทางธุรกิจในกฎหมายอิสลามหรือหลักชารีอะห์ยึดโยงกับหลักความยุติธรรมระหว่างคู่สัญญาทางธุรกิจ หลักความยุติธรรมจึงเป็นจริยธรรมในธุรกรรมทางเศรษฐกิจดำเนินไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม จริยธรรมอิสลามจึงวางหลักการที่สำคัญอาไว้ 6 ประการด้วยกัน
1.       การเป็นคนงานหรือผู้รับใช้ของมนุษย์บนโลกนี้ กล่าวคือทรัพย์สินส่วนบุคคลหรือการเป็นเจ้าของหรือมีกรรมสิทธิเหนือทรัพย์สิน แม้เป็นที่อนุมัติในอิสลาม แต่ไม่ได้เป็นเป้าหมายในตัวของมันเอง แต่ถูกมองว่าเป็นการให้ยืมจากพระเจ้าการครอบครองเพียงชั่วคราวเพื่อใช้ประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ดังนั้นการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินแม้เป็นของตนเอง ยังต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ
2.       ความซื่อสัตย์ เป็นคุณลักษณะที่สำคัญของจริยธรรมอิสลาม กิจกรรมทางธุรกิจต้องดำเนินการบนฐานความซื่อสัตย์
3.       ความบริสุทธิ์ใจ หมายความว่า ทุก ๆ การกระทำจะต้องปราศจากการโกหก หลอกลวง หน้าไหว้หลังหลอก ระหว่างคู่ค้าทางธุรกรรม ไม่ว่าจะเป็นนายจ้าง ผู้ถือหุ้น หรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด
4.       ความเคร่งครัด กล่าวคือในทุกกิจกรรมและทุกสถานการณ์ คุณค่า หลักการ กฎระเบียบที่หลักชารีอะห์ได้วางเอาไว้ต้องถูกนำมาใช้อย่างเคร่งครัด
5.       ความยุติธรรมในการแลกเปลี่ยน ความยุติธรรมในการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจต้องไม่ทำให้คู่ค้าที่เกี่ยวข้องเสียเปรียบ เช่น การตั้งราคาที่ไม่สมเหตุสมผล
6.       ความถูกต้อง และความสมบูรณ์ในการทำงาน เป็นสิ่งที่ปัจเจกบุคคลต้องรับประกันว่า พวกเขาแต่ละคนสามารถปฏิบัติหน้าที่ส่วนตนอย่างมืออาชีพ และพยายามให้บรรลุความสำเร็จตามความสามารถของเขา

ประการที่สอง การประยุกต์ใช้หลักจริยธรรมในการดำเนินการทางธุรกิจ หลักจริยธรรมอิสลามมิได้ประยุกต์ใช้เฉพาะส่วนตัวของมุสลิมเท่านั้น แต่รวมถึงแนวทางในการดำเนินธุรกิจของพวกเขาด้วย ซึ่งจริยธรรมส่วนนี้สามารถสะท้อนออกมาในเชิงพฤติกรรมได้ดังนี้คือ
1.       ความซื่อสัตย์และการค้าที่ยุติธรรม อันหมายถึงการไม่โกงน้ำหนัก ไม่ซ่อนตำหนิสินค้า ไม่กักตุน โกงหรือฉกฉวยโอกาส
2.       การเปิดเผยและการโปร่งใส หมายถึง ผู้ซื้อสามารถขอดูสินค้าและผู้ขายสามารถเปิดเผยคุณภาพต่าง ๆ ของสินค้าและเป็นไปตามความพึงพอใจของผู้ซื้อ ทุกส่วนประกอบของสินค้าต้องได้รับความพึงพอใจของผู้ซื้อ
3.       การเป็นทำให้หลงเข้าใจผิด หรือการโฆษณาเกินจริงกว่าสินค้า หรือการทำให้หลงเชื่อในคำโฆษณาทั้งจากตัวสินค้า การเป็นเจ้าของสินค้า หรือเจตนาของเจ้าของสินค้าเป็นต้น
4.       การแทรกแซงบนการซื้อขายของผู้อื่น
5.       สินค้าต้องห้าม หมายถึง สินค้าที่เป็นที่ต้องห้ามตามหลักชารีอะห์ จะไม่สามารถนำมาทำธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยน หรือลงทุนได้
6.       การกักตุนสินค้า เป็นเรื่องต้องห้ามในอิสลาม
7.       การซื้อขายสินค้า และทรัพย์สินควรอยู่ในตลาดเปิด
8.       การหลีกเลี่ยงการเอาเปรียบผู้ขายหรือผู้ซื้อที่หมดทางสู้

ประการที่สาม ข้อห้ามหลัก ๆ ของกฎหมายชารีอะห์ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้คือ
1.       ดอกเบี้ย หรือ ริบาอ์  คือส่วนเกินที่เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยน ซึ่งดอกเบี้ยนี้มิใช่เฉพาะดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเครื่องอุปโภคอื่นที่ใช้ทำหน้าที่คล้ายกับตัวเงิน เช่น ทอง เงิน ข้าวโพด ข้าวบาร์เล่ อินทผลัม และเกลือ  นอกจากนี้อาจเป็นเครื่องอุปโภคอื่น ๆ ที่กำหนดให้ทำหน้าที่คล้าย ๆ กับเงินในประเทศนั้น ๆ
2.       ความไม่แน่นอนและการพนัน ความไม่แน่นอนนี้ หมายถึงความสงสัยคลางแคลงและความไม่รู้ในตัวสินค้า บริการ ราคา ช่วงเวลา และความไม่รู้ในธุรกรรมของคู่ค้าเป็นต้น ส่วนการพนันนั้นมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนอยู่แล้ว เพราะอันที่จริง ทุก ๆ การพนันก็คือ ความไม่แน่นอน ซึ่งหลักชารีอะห์ห้ามทำธุรกรรมกับความไม่แน่นอนอยู่แล้ว

ประการที่สี่ อุตสาหกรรมที่ต้องห้าม ซึ่งนอกจากสิ่งที่เป็นที่ต้องห้ามในสังคม เช่น ยาเสพติดผิดกฎหมาย การค้าอาวุธเถื่อน หลักชารีอะห์มีกรอบการห้ามอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.       การประกันภัยและการธนาคารในระบบทุนนิยมทั่วไป (Conventional Banking and Insurance) ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบดอกเบี้ย
2.       แอลกอฮอล์สำหรับบริโภค ซึ่งมีข้อห้ามการยุ่งเกี่ยว ทั้งการห้ามทางการตลาด การซื้อ-ขาย และการทำงานในอุตสาหกรรมเหล่านี้
3.       สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับหมู และผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่สอดคล้องกับหลักชารีอะห์ เช่น เนื้อสัตว์ที่ไม่ได้เชือดตามหลักการศาสนา
4.       การพนัน รวมถึงการเสี่ยงทายทุกชนิด
5.       ยาสูบ มีข้อห้ามคล้ายกับแอลกอฮอล์ (มีบางทัศนะที่เห็นว่ายาสูบไม่ใช่ประเภทเดียวกันกับแอลกอฮอล์)
6.       สิ่งบันเทิงของผู้ใหญ่ หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ กิจการความบันเทิง เช่น บาร์ ไนต์คลับ และรวมถึง ภาพยนต์ลามกที่มีเนื้อหายั่วยุทางเพศชัดเจนไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็ตาม
7.       อาวุธและอุตสาหกรรมการผลิตอาวุธ

‘Natijah daripada Perpecahan’

‘Natijah daripada Perpecahan
Oleh W.Erfan    
             إنَّ الحَمْدَ للهِ نَحْمَدُهُ وَنَسْتَعِيْنُهُ وَنَسْتَهْدِيْهِ وَنَسْتَغْفِرُهُ وَنَتُوبُ إلَيْهِ، وَنَعُوذُ بِاللهِ مِنْ شُرُوْرِ أَنْفُسِنَا وَمِنْ سَيِّئَاتِ أَعْمَالِنَا، مَنْ يَهْدِهِ اللهُ فَلَا مُضِلَّ لَهُ، وَمَنْ يُضْلِ فَلَا هَادِيَلَهُ، وَمَنْ يُضْلِلْ فَلَنْ تَجِدَ لَهُ وَلِيًّا مُرْشِدًا. أشْهَدُ أنْ لَا إلهَ إلّا اللهُ وَحْدَهُ لَاشَرِيْكَ لَهُ، وَأشْهَدُ أنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُولُهُ، اَللّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ وَبَارِكْ عَلَى نَبِيِّنَا وحبيبنا المصطفى محُمَّدٍ وَعَلى آلِهِ وَصَحْبِهِ اجمعين.
          أَمَّا بَعْدُ، فَيَا عِبَادَ الله ، إتقوا الله، أوْصِيْكُمْ وَيايَ بِتَقْوَى الله، فَقَدْ فَازَ الْمُتقُون .
 
Sidang jumaat yang mulia!
            Bertakwalah kamu kepada Allah s.w.t. samada di tempat yang zahir dan tempat yang sembunyi, kerana ketakwaan itulah sebagai bekalan hidup kita di dunia dan di akhirat.
            Salah satu daripada ajaran Islam yang sebagai agama yang di kasihi oleh kita semua ialah jangan berpecah-belah atau bercerai-berai, jangan membahagi belah membahagi puak dan keturunan, jangan bertaa’sub kepada pihak tertentu, kerana kelakuan yang sedemikian adalah kelakuan yang di lakukan oleh orang-orang yang dahulu dari kita. Allah s.w.t. selalu mencela kelakuan tersebut dan melarang keras daripada kelakuan itu, seperti di jelaskan di dalam surah al-Imran ayat 105
Maksudnya: “Dan janganlah kamu menjadi seperti orang-orang (yahudi dan nasrani) yang telah bercerai-berai dan berselisih (dalam agama mereka) sesudah datang kepada mereka keterangan-keterangan yang jelas nyata (yang di bawa oleh Nabi-Nabi Allah) dan mereka yang bersifat demikian akan beroleh azab seksa yang besar”.

Sidang jumaat yang di kasihi!
            Umat dahulu mereka bercerai-berai dalam masalah agama dan masalah kepercayaan mereka, timbul perpecahan dan tidak bersatu di dalam kalangan mereka, maka natijah yang mereka peroleh ialah kehancuran di dunia ini dan di akhirat nanti, dengan yang demikian Allah s.w.t. melarang keras supaya kita tidak menjadi seperti mereka itu, Allah s.w.t. berfirman dalam surah al-An’am ayat: 159
Maksudnya: “Bahwasanya orang-orang yang mencerai-beraikan agama mereka (dengan perselisihan-perselisihan yang berdasarkan hawa nafsu) dan mereka yang menjadi berpuak-puak tiadalah engkau terkait sedikit pun dalam(perbuatan) mereka, sesungguhnya perkara mereka hanya terserah kepada Allah, kemudian ia akan menerangkan kepada mereka (pada hari kiamat kelak) apa yang telah mereka lakukan.
            Ibn Abbas r.d. berkata: ayat ini di turunkan tentang hal orang yahudi dan nasrani, oleh kerana dua golongan ini timbul perselisihan berpecah kepada mazhab-mazhab di dalam masalah beragama, perselisihan itu membawa kepada perbunuhan dan menumpah darah, maka dua golongan ini sebagai pengajaran yang buruk bagi umat Islam yang tidak patut di ikuti, dan azab Allah juga akan menimpa keatas mereka sebagai ajaran dari Allah yang melangari perintahNya.
            Sekiranya umat Islam timbul perselisihan yang berpecah-pecahan dan ada perpaduan antara yang lain, maka ingatlah bahwa umat Islam di karun kebelakangan ini sedang-sedang kembali kepada jalan orang dahulu yang telah di timpa keatas mereka akan bala dari Allah s.w.t. perkara ini bukan tidak berlaku bahkan sudah berlaku dan akan berlaku seperti orang-orang dahulu di timpa, sebab kita tidak sedar dan tidak mengambil pengajaran dari orang-orang dahulu sebagai pengajaran bagi kita, dia akan berlaku seperti orang dahulu sekiranya kita biarkan masyarakat kita timbul perpecahan dengan tidak menjari jalan untuk mengatasi, atau menahan daripada timbul perpecahan , oleh kerana di hari ini makin hari makin seakan-akan keadaan dengan orang karun dahulu.

Sidang jumaat yang mulia!
            Ingatlah bahwa natijah daripada perpecahan umat, natijah daripada bercerai-berai adalah senjata yang paling bahaya sekali pada membunuh umat Islam, ia lebih bahaya daripada senjata dari pihak musuh.   

    بَارَكَ اللهُ لِى وَلَكُم فِى القُرآنِ العَظِيْمِ وَنَفَعَنِى وَإيَّاكُمْ بِمَا فِيْهِ مِنَ الآيَاتِ وَالذِّكْرِ الحَكِيْمِ وَتَقَبَّلَ مِنِّى وَمِنْكُمْ تِلَاوَتَهُ إنَهُ هُوَ السَمِيْعُ العَلِيْمُ. وَأسْتَغْفِرُاللهَ العَظِيْمَ لِىْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ المُسْلِمِيْنَ وَالمُسْلِمَاتِ وَالمُؤمِنِيْنَ وَالمُؤمِنَاتِ مِنْ كُلِّ ذَنْبٍ فَاسْتَغْفِرُوْهُ إنَّهُ هُوَ الغَفُورُ الرَّحِيْم.